นับเป็นทักษะสำคัญในการสื่อสารของโลกยุคเทคโนโลยี่ และโซเชียลมีเดีย เพราะพฤติกรรมของผู้คน ต่างยุค ต่างวัย ต่างทักษะ ต่างแนวคิด ต่างเป้าหมาย ต่างวิธีการดำเนินชีวิต เมื่อต้องสื่อสารร่วมกันอาจส่งผลของการสนทนา ที่ไม่สอดคล้องตามควาดคาดหมายของผู้ร่วมสนทนา
ดังนั้น การโค้ชจึงช่วยให้การสื่อสารด้วยการสนทนาราบรื่น ด้วยนัยยะสำคัญ อย่างมีเป้าหมาย
ทักษะสำคัญในการโค้ช
การสร้างบรรยากาศการสนทนา
ด้วยความปราถนา ให้ผู้พูดพบเป้าหมายและแนวทางด้วยตัวเขาเอง
ด้วยความมั่นใจ เคารพ ความสามารถในการคิดของผู้พูด
สร้างเสริมให้ผู้พูดรู้สึกมั่นใจในตนเอง อบอุ่นใจ กล้าสื่อสารความคิด ความรู้สึก และความต้องการที่แท้จริง
การฟัง
การฟังอย่างลึกซึ้ง ตั้งใจ เข้าใจทั้งเนื้อหาและบริบท
การฟังด้วยการวางใจและความคิดเป็นกลาง ไม่แอบคิดค้าน หรือคิดแทน หรือตอบสวนกลับทันที
การฟังด้วยใจอ่อนโยน รับเรื่องต่างๆด้วยใจเมตตา (ช่วยให้ผู้พูดสื่อสารได้จากความรู้สึกจริงๆ ช่วยปลดลอค) ใจกรุณา (ช่วยให้ผู้พูด สื่อสารจนสามารถค้นพบแนวทางได้ด้วยการตระหนักรู้ด้วยตนเอง) มี มุทิตา (มีความปราถนาและรู้สึกยินดี เมื่อผู้พูดพบความพึงพอใจของตนเอง) อุเบกขา (สามารถวางใจเป็นกลาง ไม่ก้าวล่วงความคิดของผู้พูด)
การถาม
การถามด้วยแนวทาง รูปแบบการโค้ช GROW Model, SMART model ต่างๆ
การถามด้วยคำถามที่เหมาะสม เชิงบวก ชัดเจน ไม่ซับซ้อน
ผู้ถามประมวลข้อมูลจากผู้พูด เพื่อสร้างคำถามให้ผู้พูดสามารถขับเคลื่อนความคิดของตนเอง ไปข้างหน้า มุ่งสู่เป้าหมาย
ไม่ใช้คำชี้นำ และไม่ใช้คำถามปลายปิด
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร ด้วยแนวทางการโค้ช (ทดสอบความเข้าใจด้วยตนเอง)
Comentários